การจัดหมวด ของ ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์เดลตา

สายพันธุ์เดลตามีการกลายพันธุ์ที่ยีนซึ่งเข้ารหัสโปรตีนหนาม (spike protein) ของไวรัส[5]เป็นการกลายพันธุ์แบบแทนที่ชนิด D614G, T478K, P681R และ L452R[30][31]การจำแนกวิวัฒนาการชาติพันธุ์ของเน็กซ์เสตน (Nextstrain) จัดสายพันธุ์ให้อยู่ในเคลด 21A[32]

ในปลายเดือนพฤษภาคม 2021 องค์การอนามัยโลกได้ตั้งชื่อสายพันธุ์นี้เป็นเดลตา หลังเริ่มใช้อักษรกรีกเป็นชื่อสายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วงและสายพันธุ์ที่น่าสนใจ[4]

สายพันธุ์ลูกหลานอื่น ๆ ของ B.1.617

ปัจจุบันมีสายพันธุ์ลูกหลานของ B.1.617 ที่จัดหมู่ไว้ 3 หมวด

ในเดือนเมษายน 2021 พีเอชอีจัด B.1.617.1 ให้เป็นสายพันธุ์ที่กำลังตรวจสอบต่อมาในเดือนเดียวกัน ก็จัด B.1.617.2 (คือเดลตา) และ B.1.617.3 ให้เป็นสายพันธุ์ที่กำลังตรวจสอบเช่นกันสายพันธุ์ B.1.617.3 มีการกลายพันธุ์ L452R และ E484Q เช่นเดียวกันกับ B.1.617.1 แต่ B.1.617.2 ก็ไม่มีการกลายพันธุ์แบบ E484Qโดยยังมีการกลายพันธุ์ T478K ที่ไม่พบใน B.1.617.1 และ B.1.617.3 อีกด้วย[33][34]ในช่วงเดียวกัน ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคยุโรป (ECDC) ก็ได้ระบุสายพันธุ์ย่อยทั้งสามว่า น่าสนใจ และประเมินว่า จะต้องเพิ่มเข้าใจความเสี่ยงก่อนจะพิจารณาเปลี่ยนมาตรการจัดการโรคที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน[35]

การกลายพันธุ์

  • ภาพการกลายพันธุ์ของสายพันธุ์เดลตา เป็นการเปลี่ยนยีนกรดอะมิโนจากที่พบในสายพันธุ์ดั้งเดิม โดยเน้นตรงโปรตีนหนาม[36]
การกลายพันธุ์รูปแบบเฉพาะ
ของเดลตา
ยีน กรดอะมิโน
ORF1b P314L
P1000L
โปรตีนหนาม G142D
T19R
R158G
L452R
T478K
D614G
P681R
D950N
E156del
F157del
M I82T
N D63G
R203M
D377Y
orf3a S26L
orf7a V82A
T120I
แหล่งอ้างอิง: ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคสหรัฐ[37], Covariants.org[38]

จีโนมของสายพันธุ์เดลตา หรือ B.1.617.2 มีการกลายพันธุ์ 13 ตำแหน่ง[upper-alpha 2]ซึ่งทำให้โปรตีนที่ผลิตเนื่องกับลำดับยีนที่เปลี่ยนไปเช่นนั้น เปลี่ยนไป[3]มีการกลายพันธุ์ 4 อย่างทั้งหมดที่น่าเป็นห่วงเป็นพิเศษในโปรตีนหนามของไวรัส ซึ่งโดด ๆ แล้วไม่เฉพาะเจาะจงต่อสายพันธุ์นี้แต่การมีการกลายพันธุ์ทั้ง 4 อย่างเป็นลักษณะพิเศษของสายพันธุ์นี้[31][39]การกลายพันธุ์รวมทั้ง

  • D614G เป็นการแทนที่กรดแอสปาร์ติกด้วยไกลซีนที่ตำแหน่ง 614 ซึ่งก็มีในสายพันธุ์ที่ติดต่อได้เร็วอื่น ๆ รวมทั้งอัลฟา เบตา และแกมมา[40]
  • T478K[40][30] เป็นการแทนที่ทรีโอนีนด้วยไลซีนที่ตำแหน่ง 478[41]
  • L452R เป็นการแทนที่ลิวซีนด้วยอาร์จินีนที่ตำแหน่ง 452 ทำให้โปรตีนหนามมีสัมพรรคภาพจับกับหน่วยรับเซลล์มนุษย์คือ ACE2 ได้แน่นขึ้น[42] และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันรู้จำโปรตีนได้น้อยลง[31][43]
  • P681R เป็นการแทนที่ proline ด้วยอาร์จินีนที่ตำแหน่ง 681 ตามนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันท่านหนึ่ง การกลายพันธุ์นี้อาจทำให้เซลล์มนุษย์ติดเชื้อเพิ่มขึ้นโดยอำนวยการตัดโปรตีนตั้งต้นของโปรตีน S ให้เป็นรูปแบบที่มีฤทธิ์คือ S1/S2[44]

ให้สังเกตว่า การกลายพันธุ์ E484Q ไม่มีอยู่ในจีโนมของสายพันธุ์เดลตา[44][45]

สายพันธุ์เดลตาพลัส

ข้อมูลเพิ่มเติม: สายพันธุ์ของ SARS-CoV-2 § เดลตา

สายพันธุ์เดลตาบวกกับการกลายพันธุ์ K417N จัดอยู่ในเคลด 2 เคลดคือ AY.1 และ AY.2 ตามการจำแนกสายพันธุ์ของแพงโก (PANGOLIN)[46]และมีชื่อเล่นว่า เดลตาพลัส หรือสายพันธ์เนปาลมีการกลายพันธุ์ชนิด K417N[47]ซึ่งก็พบในสายพันธุ์เบตาด้วย[48]เป็นการแทนที่ไลซีนด้วยแอสพาราจีนที่ตำแหน่ง 417[49]

ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2021 สายพันธุ์ AY.3 เป็นตัวทำให้ติดเชื้อร้อยละ 21 ในสหรัฐ[50]

ใกล้เคียง

ไวรัส ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ไวรัสอาร์เอสวี ไวรัสโคโรนา ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์เดลตา ไวรัสตับอักเสบซี ไวรัสคอมพิวเตอร์ ไวรัสโรคระบาด เอช 1 เอ็น 1/09 ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์โอมิครอน ไวรัสซิกา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์เดลตา http://www.theguardian.com/us-news/2021/jul/22/us-... http://www.theguardian.com/world/2021/jul/02/we-ar... http://www.theguardian.com/world/2021/jul/04/healt... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11742399 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/17634159 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/26132768 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/28166851 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/28757186 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/30560777 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32044814